บทที่ 4 หลักการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป

บทที่ 4
หลักการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป


  1. หลักการบัญชีเดี่ยว (Single-entry book-keeping)  เป็นหลักการบันทึกบัญชีอย่างง่ายเพียงแค่จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเท่านั้น เช่น นายดำรงนำเงินสดมาลงทุน 50,000 บาท ก็สามารถบันทึกตามรายการนี้ได้เลย ซึ่งทำให้ไม่สามารถทราบว่ากิจการมีผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินเป็นอย่างไรบ้าง ดังนั้นหลักการบัญชีเดี๋ยวจึงเป็นหลักการบัญชีที่ไม่นิยมใช้และถือเป็นหลักการบัญชีที่ไม่สมบูรณ์แบบ
  2. หลักการบัญชีคู่ (Double-entry  book - keeping)  เป็นหลักการบัญชีที่สมบูรณ์แบบ และใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน รวมถึงเป็นหลักการบัญชีที่ใช้ในการศึกษาวิชาบัญชีต่าง ๆ
    1. ด้านเดบิต (Debit) จะใช้ตัวย่อว่า Dr. คือด้านซ้ายของสมการบัญชี ดังนั้นด้านเดบิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของสมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของสมการบัญชีลดลง คือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ การลดลงของหนี้สินและการลดลงของส่วนของเจ้าของ
    2. ด้านเครดิต (Credit)  จะใช้ตัวย่อว่า Cr. คือ ด้านขวาของสมการบัญชี ดังนั้นด้านเครดิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของสมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของสมการบัญชีลดลง คือ การลดลงของสินทรัพย์ การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และการเพิ่มขึ้นของส่วนของเจ้าของ 


การบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ในสมุดรายวันทั่วไป
รายการค้าที่บันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
      1. รายการเปิดบัญชี (Opening Entry) 
      2. รายการปกติของกิจการ (Journal Entry)

    1. การบันทึกรายการเปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป รายการเปิดบัญชี (Opening Entry) หมายถึง รายการแรกของการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดจากมีการลงทุนครั้งแรก หรือเมื่อมีการ เริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่
      1. การลงทุนครั้งแรกมี 3 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 การนำเงินสดมาลงทุนเพียงอย่างเดียว
ตัวอย่างที่ 1 นายอยู่สุขเปิดกิจการอู่ซ่อมรถ โดยเริ่มกิจการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 และนำเงินสดมาลงทุนในกิจการจำนวน 100,000 บาท


กรณีที่ 2 การนำเงินสด และสินทรัพย์อื่นมาลงทุน
ตัวอย่างที่ 2 นายแดน เปิดกิจการร้านเสริมสวย "แดนบิวตี้" เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 โดยนำเงินสด 80,000 บาท เงินฝากธนาคาร 140,000 บาท อุปกรณ์ 80,000 บาท มาลงทุน


กรณีที่ 3 การนำเงินสด สินทรัพย์อื่น และหนี้สินมาลงทุน
ตัวอย่างที่ 3 นางสาวลาล่า เปิดร้านสปาเพื่อสุขภาพ ในวันที่ 1 มกราคม 2550 ได้นำเงินสดจำนวน 70,000 บาท เงินฝากธนาคาร 30,000 บาท อุปกรณ์ 60,000 บาท อาคาร 400,000 บาท และเจ้าหนี้การค้า 40,000 บาท มาลงทุน

      1. เริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ (งวดบัญชีใหม่)
การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปเหมือนกรณีการลงทุนครั้งแรก คือต้องบันทึกในสมุดรายวัน ทั่วไปแบบรวม (Compound Journal Entry) โดยเขียนเงินสด สินทรัพย์อื่นให้หมดก่อน แล้วจึงเขียนหนี้สินให้ หมด (ถ้ามี) ตามด้วยทุนเป็นลำดับสุดท้ายและขียนคำอธิบายรายการว่าบันทึกสินทรัพย์ หนี้สินและทุนที่มีอยู่ ณ วันเปิดบัญชี
การบันทึกรายการเปิดบัญชี เมื่อเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่นี้ อาจจะใช้สมุดรายวันทั่วไปและบัญชี แยกประเภทเล่มเดิม เพื่อบันทึกรายการต่อไป หรือจะใช้สมุดเล่มใหม่ก็ได้ แล้วแต่กิจการ
รอบระยะเวลาบัญชี หมายถึง ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ต้องแสดงผลการดำเนินงานและฐานะทาง การเงินของกิจการ เช่น 3 เอือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับกิจการแต่ละแห่ง

ตัวอย่างที่ 4 ต่อไปนี้เป็นรายการค้าของร้านนครชัยการช่าง ระหว่างเดือนมกราคม 2550
ม.ค.
1
นายนครเปิดร้านบริการซ่อมวิทยุ โทรทัศน์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ โดยนำเงินสด 40,000 บาท เงินฝากธนาคาร 60,000 บาท อาคาร 400,000 บาท อุปกรณ์การซ่อม 50,000 บาทและ เจ้าหนี้ 60,000 บาท มาลงทุน
5
รับเงินค่าซ่อมโทรทัศน์ 3,000 บาท
8
ซื้ออุปกรณ์ในการซ่อมเป็นเงินเชื่อ จากร้านโกมล 12,000 บาท
11
จ่ายค่าเช่าอาคารเพิ่มเติมเนื่องจากพื้นที่คับแคบ 12,000 บาท
15
ซ่อมพัดลมให้โรงเรียนเก่งวิทยา 35,000 บาท ยังไม่ได้รับเงิน
20
รับชำระหนี้จากโรงเรียนเก่งวิทยาตามรายการวันที่ 15 ม.ค.
25
จ่ายชำระหนี้ให้ร้านโกมล 12,000 บาท
28
กู้เงินจากธนาคารไทย 80,000 บาท
29
นายนครถอนเงินไปใช้ส่วนตัว 14,000 บาท
31
จ่ายเงินเดือนให้คนงาน 28,000 บาท
ให้ทำ บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป





    1. การบันทึกรายการปกติของกิจการในสมุดรายวันทั่วไป
รายการปกติของกิจการ (Journal Entry) เป็นการบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการลงทุน หรือเริ่มระยะเวลาบัญชีใหม่แล้ว ในแต่ละวัน โดยการบันทึกรายการค้าปกติของกิจการจะบันทึกโดยเรียงตามลำดับ ก่อนหลังของการเกิดรายการค้า ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับการ บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปตัวอย่างที่ 4 ข้างต้น



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
1. ข้อใดหมายถึง “หลักการบัญชีเดี่ยว”
ก. Single-entry book-keeping
ข. Double-entry  book - keeping
ค. Compound Journal Entry
ง. Opening Entry

2. ข้อใดหมายถึง “หลักการบัญชีคู่”
ก. Single-entry book-keeping
ข. Double-entry  book - keeping
ค. Compound Journal Entry
ง. Opening Entry

3. ข้อใดหมายถึง “สมุดรายวัน ทั่วไปแบบรวม”
ก. Single-entry book-keeping
ข. Double-entry  book - keeping
ค. Compound Journal Entry
ง. Opening Entry

4. ข้อใดหมายถึง “รายการเปิดบัญชี”
ก. Single-entry book-keeping
ข. Double-entry  book - keeping
ค. Compound Journal Entry
ง. Opening Entry

5. ข้อใดหมายถึง “รายการค้าที่บันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป” แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4

6. “บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป” มีกี่หลักการ
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4

7. ข้อใดหมายถึง “ป็นหลักการบันทึกบัญชีอย่างง่ายเพียงแค่จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเท่านั้น”
ก. หลักการบัญชีเดี่ยว
ข. หลักการบัญชีคู่
ค. รายการเปิดบัญชี
ง. รอบระยะเวลาบัญชี

8. ข้อใดหมายถึง “เป็นหลักการบัญชีที่สมบูรณ์แบบ และใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน”
ก. หลักการบัญชีเดี่ยว
ข. หลักการบัญชีคู่
ค. รายการเปิดบัญชี
ง. รอบระยะเวลาบัญชี

9. ข้อใดหมายถึง “รายการแรกของการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดจากมีการลงทุนครั้งแรก หรือเมื่อมีการ เริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่”
ก. หลักการบัญชีเดี่ยว
ข. หลักการบัญชีคู่
ค. รายการเปิดบัญชี
ง. รอบระยะเวลาบัญชี

10. ข้อใดหมายถึง “ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ต้องแสดงผลการดำเนินงานและฐานะทาง การเงินของกิจการ เช่น 3 เอือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับกิจการแต่ละแห่ง”
ก. หลักการบัญชีเดี่ยว
ข. หลักการบัญชีคู่
ค. รายการเปิดบัญชี
ง. รอบระยะเวลาบัญชี


เฉลย 1.ก  2.ข  3.ค  4.ง  5.ข  6.ข  7.ก  8.ข  9.ค  10.ง

ความคิดเห็น

  1. กู้เงิยจากธนาคารกรุงไทยจำกัด เป็นสัญญาระยะเวลา2ปี จำนวน55,000บาท
    บันทึกบัญชียังไงคะใครรู้ช่วยบอกที

    ตอบลบ
  2. ซื้อเครื่องมือตัดผมราคา 5,000 บาทเป็นเงินเชื่อ

    บันทึกไงครับบอกที

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สินทรัพย์คือ เครื่องมือตัดผม หนี้สินคือ เจ้าหนี้การค้า

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิชาเสริม Blogger